วิศวกรโครงการ หรือ หัวหน้างานก่อสร้าง ในระดับต่างๆ อาจได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนของนายจ้างในงานบางหน้าที่ ย่อมมีหน้าที่ ที่จะต้องใช้อำนาจในการสั่งงานการต่างๆ ตามที่ นายจ้างตัวจริงมอบหมาย แต่ ในการทำหน้าที่ในการเป็นตัวแทนของนายจ้าง นั้น จำเป็นต้องทราบว่า โดยกฎหมายแรงงานไทยนั้น ขอบเขตอำนาจในการสั่งงานของตัวแทนของนายจ้าง นั้นมีเพียงไร คำสั่งต่างๆที่ออกไป เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากเป็นคำสั่งที่ศาลฎีกาเห็นว่า การสั่งการในเรื่องนั้นๆชอบด้วยกฎหมายแล้ว หากลูกจ้างฝ่าฝืน ตัวแทนของนายจ้าง ก็ย่อมมีสิทธิ์สั่งลงโทษได้ แต่การทำงานอยู่ร่วมกันนั้น ย่อมมีเรื่องกระทบกระทั่งกันบ้าง มีปัญหาเกิดความขัดแย้งกันบ้าง เราจำเป็นต้องมาทำความเข้าใจในปัญหาที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง และ เมื่อมีความขัดแย้งขึ้น เราจะต้องทราบถึงเทคนิคการรับฟังปัญหา และ เทคนิคการคลี่คลายแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดความสุขและมีสันติในการทำงาน เพื่อเสริมสร้างระบบการแรงงานสัมพันธ์ที่ดีให้มี และเกิดขึ้นในหน่วยงานที่เราทำงานอยู่ แต่ทั้งนี้ เราควรใช้มาตรการป้องกัน โดยการดูแล และ ระวังมิให้มีการละเมิดวินัยในการทำงาน แต่ ถ้าเราป้องกัน ดูแล และระวังแล้ว ก็ยังมีพนักงานในสังกัดฝ่าฝืน หรือ กระทำผิดอีก ซึ่งก็หลีกเลี่ยงการลงโทษอันเป็นขั้นตอนการเยียวยาแก้ไขไม่ได้ นั่นเอง
ดังนั้น เพื่อช่วยให้ตัวแทนของนายจ้าง ในระดับต่างๆ มีความมั่นใจในการทำหน้าที่ของตนได้อย่าง จึงได้เปิดการอบรมสัมมนาเรื่องนี้ขึ้น เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในแง่มุมที่สำคัญของการทำหน้าที่ของการเป็นตัวแทนของนายจ้าง ให้เกิดประสิทธิภาพ และ มีประสิทธิผลสูงต่อการดำเนินธุรกิจในกิจการงานก่อสร้าง
ตัวแทนของนายจ้าง ทุกระดับ (ไม่ว่าจะมีตำแหน่งเป็น วิศวกรโครงการ หรือ หัวหน้างานก่อสร้าง จะเป็นระดับ ลีดเดอร์ ซุปเปอร์ไวเซอร์ เมเนเจอร์ ไดเร็คเตอร์ หรือ ผู้บริหารส่วนงาน ผู้บริหารฝ่ายงาน ผู้บริหารสายงาน ฯลฯ) ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับพนักงานของบริษัทฯ ควรมารับการอบรมสัมมนา เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของขอบเขตการใช้อำนาจในการสั่งงาน การสร้างระบบการแรงงานสัมพันธ์ที่ดี มีเพียงไร เหตุที่มา ของความขัดแย้ง มาจากสาเหตุใด และ จะคลี่คลายแก้ปัญหาความขัดแย้งได้อย่างไร การแก้ปัญหาเมื่อมีความขัดแย้งในที่ทำงาน จะต้องดำเนินการอย่างไร จะมีเทคนิคการรับฟัง และ คลี่คลายแก้ไขปัญหาได้อย่างไร หากจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จจะต้องอาศัยปัจจัยสำคัญอะไรบ้าง อีกทั้งควรเข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการแรงงานสัมพันธ์ว่ามีเพียงไร เรื่องสำคัญในกฎหมายว่าด้วยการแรงงานสัมพันธ์ที่สำคัญและจำเป็นต้องทราบคือเรื่องอะไร ควรใช้มาตรการทางวินัยในการเสริมสร้างประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงาน หรือ จะใช้มาตรการทางวินัยในทางบวก มีแนวทางดำเนินการได้อย่างไร และ เสริมความรู้ว่าด้วยกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ที่ออกมาใหม่ ในฉบับที่ 7 และ ฉบับที่ 8
ข้อบังคับเบื้องต้นก่อนการเรียน : ไม่มี
ระยะเวลา : 1 วัน (09:00-16:00 น.)